ความปลอดภัยในการทำงานสำคัญอย่างไร

เมื่อคนเราตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานตลอดระยะเวลาทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เราไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น และยังช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพทย์สินอื่นๆ มากมาย ดังนั้นเราจึงควรรู้ถึงสาเหตุที่จะเกิดอุบัติเหตุและหาแนวทางป้องกัน เพื่อให้เรามั่นใจว่าเราจะทำงานด้วยความปลอดภัย

ความปลอดภัยในการทำงาน หรือ ความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (OHS) เป็นสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสุขภาพ ของพนักงานในองค์กร ป้องกันไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตราย อุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการทำงาน

ความปลอดภัย  คือ การที่ร่างกาย ปราศจากอุบัติภัย หรือปราศจากการสูญเสียใด ๆ  ทั้งร่างกายและทรัพย์สิน ทุกชีวิตล้วนต้องการความปลอดภัยทั้งสิ้น ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์  ความปลอดภัยจะเป็นประโยชน์มากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติหรือการกระทำของตนเอง
อุบัติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่พึงประสงค์และไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน แต่ก่อผลเสียหายให้ต้องสูญเสียชีวิตอวัยวะ บาดเจ็บ หรือสูญเสียทรัพย์สิน  

 

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิดการกระทำที่ไม่ปลอดภัย

  • การกระทำที่ไม่ปลอดภัย
  • การทำงานไม่ถูกวิธี หรือ ไม่ถูกขั้นตอน
  • ความประมาท พลั้งเผลอ เหม่อลอย
  • การมีนิสัยชอบเสี่ยง
  • การไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบความปลอดภัยในการทำงาน
  • การทำงานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
  • การแต่งกายไม่เหมาะสม
  • การทำงานโดยสภาพร่างกายและจิตใจไม่ปกติ เช่น เมาค้าง ป่วย
  • การทำงานกับเครื่องจักรที่เคลื่อนไหว แต่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
  • การวางผังไม่ถูกต้อง หรือการวางสิ่งของไม่เป็นระเบียบ
  • พื้นที่ทำงานขรุขระ เป็นหลุมบ่อ หรือพื้นมีเศษวัสดุ น้ำมัน น้ำบนพื้น
  • สภาพการทำงานไม่ปลอดภัย เช่น เสียงดัง มีความร้อน ฝุ่นละอองมาก
  • เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ชำรุด
  • ระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด

สาเหตุของ “การเกิดอุบัติเหตุ” มีมากมาย และสามารถเกิดขึ้นในทุกช่วงเวลาของชีวิตของคุณ  แล้วคุณพร้อมรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นหรือยัง  หากคุณต้องการป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียเหล่านี้  เราจะมาทำความรู้จักวิธีการป้องกันก่อนที่เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดขึ้น

การป้องกันก่อนการเกิดอุบัติเหตุ  คือ การป้องกันหรือมีการเตรียมการล่วงหน้า เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ โดยใช้หลักการ 5 ส.

1.  สะสาง    –  การแยกแยะงานดี – งานเสีย หรือ แยกของใช้ได้ – ใช้ไม่ได้

2.  สะดวก –  การจัดการ จัดเก็บให้เป็นระเบียบเป็นหมวดหมู่

3.  สะอาด –  การทำความสะอาดเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ สถานที่ก่อนและหลังการใช้งาน

4.  สุขลักษณะ –  ผู้ปฏิบัติงานต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเอง เครื่องมือ และสถานที่

5.  สร้างนิสัย –  การสร้างนิสัยที่ดี

เราควรมีความรู้ 5 อย่าง

    1. รู้ –  งานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร
    2. รู้ –  การเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
    3. รู้ –  วิธีการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
    4. รู้ –  ข้อจำกัดการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์
    5. รู้ –  วิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Shopping Cart
Scroll to Top