
หมวกนิรภัย หรือ หมวกเซฟตี้
หมวกนิรภัย ช่วยป้องกันศีรษะจากวัตถุที่ตกลงมากระแทก โดยรองในหมวกนิรภัย ทำหน้าที่ช่วยกระจายแรงกระแทกให้เป็นบริเวณกว้างขึ้น และ ช่วยดูดซับแรงกระแทกให้เบาลง เพื่อลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุหรืออันตรายที่เกิดขึ้น ซึ่ง หมวกนิรภัย ผลิตจากวัสดุคุณภาพเยี่ยมที่มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถทนต่อแรงกระแทก การเจาะ การทุบ ได้เป็นอย่างดี

1. ประเภทหมวกนิรภัย
หมวกนิรภัยมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะผ่านการทดสอบที่ไ่ม่เหมือนกัน ดังนั้น การเลือกใช้หมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับหน้างานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราควรรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการทดสอบของหมวกนิรภัยที่มีทั้งหมด ได้แก่ EN397, ANSI/NZ1801,ANSI Z89.1, และมาตรฐาน มอก.368-2554 และจะต้องดูว่ามีคำอธิบายอยู่ด้านในของหมวก มีเครื่องหมายการค้า ซื้อผู้ผลิตสินค้า วัน เดือน ปีที่ผลิต บอกประเภท ชนิดของสินค้า วัสดุที่ใช้ในการผลิต รวมถึงค่าการทดสอบด้านไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าหมวกนิรภัยที่ใช้งานมีประสิทธิภาพที่ดีตรงตามมาตรฐานความปลอดภัย และเหมาะสมกับงาน
การทดสอบหมวกนิรภัย มาตรฐาน EN397

EN397 เป็นมาตรฐานที่เจาะจากับร่างการและประสิทธิภาพ ความปลอดภัยในการใช้ ในงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีข้อบังคับของการทดสอบที่แน่นอน โดยหมวกนิรภัยที่ผ่านมาตรฐาน EN397 จะต้องผ่านมาตรฐานการทดสอบดังนี้
1. การดูดซับแรงกระแทก
2. การป้องกันแรงเจาะทะลุ
3. การต้านทานการติดไฟ
4. การป้องกันแรงบีบข้าง
ข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับหมวกนิรภัยทั้งหมดได้รับการรับรองมาตรฐาน EN397

อุณหภูมิต่ำมาก ( -20 หรือ – 30 องศา)

อุณหภูมิสูงมาก (บวก 150 องศา)

ฉนวนไฟฟ้า (440 v)

โลหะหลอมเหลว

การเสียรูปด้านข้าง
การทดสอบหมวกนิรภัย มาตรฐาน AS/NZS 1801
AS/NZS 1801 เป็นอีกมาตรฐานของประเทศออสเตรเลีย ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ในการทดสอบคุณภาพของหมวกนิรภัย โดยแบ่งตามนี้
Type 1 : General Industrial สำหรับงานทั่วไป
Type 2 : High Temperature สำหรับงานที่ทำอยู่ในที่มีอุณหภูมิสูง
Tัype 3 : Bushfire Fighting สำหรับงานที่ผจญกับไฟ

การทดสอบหมวกนิรภัย มาตรฐาน ANSI Z89.1

ANSI Z89.1 ได้กำหนดแบ่งหมวกนิรภัย ออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทกและการกันไฟฟ้า โดยหมวกนิรภัยที่กันกระแทกได้แบ่งเป็น 2 ประเภท
ประเภทที่ 1 หมวกมีกระบังด้านหน้า
หมวกนิรภัยประเภทนี้ จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ออกแบบ สำหรับกันกระแทกจากด้านข้าง

ประเภทที่ 2 หมวกแบบปีกหมวกเต็ม
หมวกนิรภัย ประเภทนี้ จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง

ANSI Z89.1 จะแบ่งหมวกนิรภัยประเภทกันไฟฟ้า ออกเป็น 3 ประเภท
1. CLASS E (Electrical) : หมวกประเภทนี้ ออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าได้ดีที่ 20,000 โวลต์
2. CLASS G (General) : หมวกนิรภัยประเภทนี้ จะต้องผ่านการกันไฟฟ้าได้ดีที่ 2,200 โวลต์
3. CLASS C (Conductive) : หมวกนิรภัยประเภทนี้ ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบกันไฟฟ้า
การทดสอบหมวกนิรภัย มาตรฐาน มอก 368-2554

มอก. 368-2554 เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการทดสอบหมวกนิรภัย สำหรับงานอุตสาหกรรม จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โดยอาศัยข้อมูลจากเอกสารเหล่านี้ เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐาน เช่น ANSI Z89.1-2003, ISO/DIS 6220-1983, SAE J211-1988, และมอก. 1151-2541 เป็นต้น
ประเภทของหมวกนิรภัย
1. หมวกเซฟตี้ ประเภท E
E ย่อมาจาก Electrical มีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าได้ดี โดยการใช้แรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสไฟฟ้ากระแสสลับ ขนาด 20,000 โวลต์ ที่ 50 – 60 ไซเคิลต่อวินาที เป็นเวลา 3 นาที และจะมีกระแสไฟฟ้ารั่วไม่เกิน 9 มิลลิแอมป์
2. หมวกเซฟตี้ ประเภท G
G ย่อมาจาก General มีความสามารถในการป้องกันไฟฟ้าที่ 2,200 โวลต์ ที่ 50-60 ไซเคิลต่อวินาทีในเวลา 1 นาที และกระแสจะรั่วไม่เกิน 1 มิลลิแอมป์ มีการทดสอบความทนต่อการไหม้ไฟ และการทดสอบความคงทนต่อแรงกระทำ ซึ่งหมวกนิรภัยทุกชนิดนั้น จะช่วยลดอันตรายจากการถูกวัสดุตกมากระทบกระแทกศีรษะได้มาก หากมีการใช้งานอย่างถูกวิธี และถูกต้อง
3. หมวกเซฟตี้ ประเภท C
C ย่อมาจาก Conductive เป็นหมวกเซฟตี้ที่ไม่สามารถป้องกันไฟฟ้าได้ และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้าใด ๆ ทั้งสิ้น
2. ประสิทธิภาพในการป้องกันของหมวกเซฟตี้
สำหรับประสิทธิภาพในการป้องกันศีรษะของหมวกเซฟตี้นั้น นับว่ามีมากมายหลายประการ และต่อไปนี้คือ ประสิทธิภาพในการป้องกันของหมวกเซฟตี้
-
มีความสามารถในการกันกระแทก
-
มีความสามารถในการกันไฟ
-
มีความสามารถในการป้องกันการเจาะทะลุ
-
มีความสามารถในการกันไฟฟ้า
-
มีความสามารถในการดูดซับพลังงานการกระแทก
-
มีความสามารถในการเจาะทะลุนอกเหนือจากศูนย์กลางหมวก
-
มีความสามารถในการคืนตัวของรองในหมวก
3. ข้อแนะนำในการใช้งานและการดูแลรักษาหมวกนิรภัย
-
ก่อนการใช้งานทุกครั้ง ตรวจสอบหมวกนิรภัย หากมีส่วนใดชำรุดเสียหาย ควรเปลี่ยนใหม่ทันที และไม่ควรนำหมวกนิรภัยที่มีรอยร้าย รอยถลอก หรือรอยสึกมาใช้งาน เพราะหมวกนิรภัยที่ชำรุด จะทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง
-
หากมีการใช้หมวกนิรภัยต่อพวงกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Earmuff หรือ Face Shield ควรเลือกอุปกรณ์ที่สามารถประกอบต่อกันพอดี เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์หลุดในขณะใช้งาน
-
ควรใส่สายรัดคางทุกครั้ง เพื่อป้องกันหมวกนิรภัยเลื่อนหลุด
-
ปรับสายรัดและสายรัดคางให้กระชับพอดี
-
ควรสวมใส่หมวกนิรภัยตลอดเวลาการทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
-
ไม่ควรเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิสูง หรือที่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง แต่ควรเก็บหมวกนิรภัยในสถานที่ที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะอาจส่งผลต่อสี และประสิทธิภาพการป้องกันของหมวกนิรภัยได้
-
ไม่ควรใช้สารละลาย หรือสารเคมีรุนแรงทำความสะอาด เพราะอาจทำให้คุณภาพของหมวกลดลง
-
ควรทำความสะอาดหมวกนิรภัยอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้น้ำอุ่นและสบู่อ่อน
-
ควรถอดชิ้นส่วนที่ติดมากับหมวก (ชุดรัดศีรษะ และแถบซับเหงื่อ) ก่อนทำความสะอาด